วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16










ครั้งที่ 16

15 กุมภาพันธ์ 2554


วันนี้เป็นวันเรียนวันสุดท้ายของรายวิชา ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย วันนี้อาจารย์นัดสอบนอกตารางคือวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 9.00น และส่งงาน คำศัพท์ปฏิทิน






บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

ครั้งที่ 15
8 กุมภาพันธ์ 2554

วันนี้เข้ามาในห้องเรียน อาจารย์แจกกระดาษแล้วทำเหมือนการสอบโดยมีหัวจ้อให้เขียนตอบดังนี้
1.มุมที่ดีมีลักษณะอย่างไร
2.มุมหมอ
3.มุมร้านค้า
4.มุมจราจร
แต่อาจารย์ให้เปิดดูได้จากที่เคยจดโน๊ดไว้ แต่ห้ามถามเพื่อน!!!!!!!!

การจัดสภาพแวดล้อมที่ดีควรตอบสนองความต้องการของเด็ก และช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กควรมีลักษณะอย่างไร ?
มุมที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
การจัดมุมประสบการณ์เป็นสถานที่ ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษาตัวหนังสือ สัญลักษณืมีความหมายต่อเรื่องที่เรียนมีมุมที่เด็กสนใจ โดยเด็กสามารถเรียนรู้ ซึมซับอย่างอิมเอิบไปด้วยภาษาตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น
มุมหมอ => มีใบสั่งยา มีใบบันทึกข้อมูลส่วนตัว โดยครูควรเคลือบพลาสติกให้เด็กเขียนแล้วลบได้
มุมร้านค้า => มีเงิน มีการติดป้ายราคาหรือป้ายจัดหมวดหมู่ของสินค้า
มุมจราจร => จะเล่นอยู่ในมุมบล๊อก
ข้อคิดสำหรับการสอนภาษา
1. เริ่มจากตัวเด็กก่อน ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมหรือความสนใจ
2.สอนแบบเป็นธรรมชาติ
3.สอนอย่างมีความหมาย
4.สอนจากสิ่งที่เด็กได้พบเห็น หรือมีประสบการณ์มาก่อน
5.สอนให้เด็กรู้สึกสนุกและอยากเรียน (ไม่ใช่ฝึกแต่ให้ใช้)
6.ให้โอกาสเด็กได้ใช้ภาษา เช่น เด็กอยากพูดก็ควรให้พูด เด็กอยากฟังก็ควรให้ฟัง (ฟังนิทาน ฟังเพลง)
เด็กอยากอ่านก็ให้อ่าน (อ่านข่าว อ่านนิทาน) เด็กอยากเขียนก็ให้เขียน (เวลาเด็กมาโรงเรียนก็ให้เด็ก
เขียนชื่อตัวเอง)
ทำไมเราจึงต้องอ่านหนังสือ?

เพื่อให้เด็กได้คุ้นเคยกับตัวหนังสือเด็กจะเกิดการเรียนรู้
1. ภาษาเขียน อ่านลำดับจากซ้ายไปขวา บนลงล้างศุงไปต่ำ
2. ตัวหนังสือต่างจากภาพ
3.ตัวหนังสือก่อให้เกิดนิทานและเรื่องราวต่างๆ
4.ตัวหนังสือทำให้เกิดเสียง
5.ข้อความในหนังสือเป็นสิ่งถาวร
6.ตัวหนังสือสามารถสื่อความหมายได้
ควรสอนอ่านก่อนขึ้นชั้นประถมศึกษาปีที่1 หรือไม่

ตอบ ควร ถ้าสถานการณ์เป็นไปตามนี้
1.เป็นความปรารถนาจาดตัวเด็ก
2.วิธีการเหมาะสมกับตัวเด็ก
3.เด็กมีความพร้อมที่จะอ่าน
4.เด็กได้ใช้การอ่านเพื่อเสริมประสบการณ์
5.ครูสร้างความสนใจในคำและหนังสือ
6.ครูหวังในเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
7.ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนการอ่าน
8.มีการพูดถามตอบและมีการแก้ปัญหาอยู่เสมอ
9.ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการอ่าน
ตอบ ไม่ควร ถ้าสถานการณ์เป็นไปตามนี้
1.สอนโดยใช้แบบฝึกหัดเป็นประจำ การท่องจำ การระบายสีตามลายเส้น
2.คาดหวังให้เด็กทำตามเหมือนกันทุกคน
3.เน้นความเงียบ
4.จัดกลุ่มและเรียกเด็กตามความสามารถในการอ่าน
5.สอนแยกแต่ละทักษะออกจากกัน
6.สอนโดยถูกบีบบังคับจากผู้ปกครอง
7.เป็นการใช้อำนาจของครู
8.ครูไม่ได้รับการฝึกฝนให้เข้าใจวิธีการสอนที่เหมาะกับเด็กอนุบาล

เทคนิคที่ไม่ควรนำมาใช้สอนภาษา

1.เน้นความจำ
2.เน้นการฝึก
3.ใช้การทดสอบ
4.สอนแต่ละทักษะแยกจากกัน
5.การตีตราเด็ก
6.ใช้แบบฝึกที่เป็นกระดาษและดินสอ เส้นจุดปะ
7.ไม่ยอมรับความผิดพลาด

เทคนิคที่ควรนำมาใช้สอนภาษา
1.สอนในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ
2.สอนสิ่งที่มีความหมายสำหรับเด็ก
3.สอนจากสิ่งที่รู้ไปสู่สิ่งที่ไม่รู้-บูรณาการเข้ากับสาขาวิชาอื่น
4.ให้โอกาสเด็กทุกคนเรียนรู้ภาษา
5.ใช้ความคิดและถ้อยคำของเด็ก
6.ยอมรับการคาดเดาของเด็ก
7.ให้โอกาสเด็กอย่างมากมายในการใช้ทักษะต่างๆ
8.จัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
9.ทำให้การเรียนรู้น่าสนใจและสนุกสนาน


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

ครั้งที่ 14
1 กุมภาพันธ์ 2554

ภาษาที่เกิดขึ้นและใช้ได้ดีต้องมีความหมายซึ่งความรู้ของเด็กจะเพิ่มพูนได้เมื่อเด็กได้ทำกิจกรรมการอ่านร่วมกับผู้ใหญ่ โดยมีสื่อคือ
1. นิทาน
2. หนังสือพิมพ์
3. โฆษณา
4.โปรชัว ใบปลิว
ภาษาที่เกิดขึ้นจากการอ่านของเด็กปฐมวัย
1.การอ่านเงียบๆตามลำพังควรอ่านที่ มุมนิทาน มุมหนังสือ
2.การอ่านเป็นคู่หรือกลุ่มย่อยเพื่ออภิปรายรวมกัน เกิดขึ้นเด็กเล่าให้กันฟังหรือสนทนากัน
3.การอ่านจากสิ่งที่ครู-เด็กเขียนร่วมกันหรือสิ่งที่เด็กเขียนขึ้นเอง นับได้ว่าเป็นการอ่านที่ดีที่สุดของเด็ก
ลักษณะสำคัญของภาษาแบบองค์รวม
การอ่าน-การเขียน
-เน้นความเข้าใจเนื้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือผ่านการฟังนิทาน เรื่องราวสนทนาโต้ตอบคิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่
-การคาดคะเนโดยการเดาในขณะอ่าน เขียนและสะกด เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในการเรียนรู้ภาษาธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถูกต้องทั้งหมด(ยอมรับในสิ่งที่เด็กเขียนออกมา ที่เด็กสื่อความหมายตามภาษาธรรมชาติของเขาและค่อยหาทางแก้ไข)
-มีหนังสือวัสดุสิ่งพิมพ์ต่างๆให้เด็กเป็นผู้เลือก เพื่อได้รับประสบการณ์ทางภาษาอย่างหลากหลาย
-ครูแนะนำและสอนอ่านในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มาโดยใช้หนังสือเล่มใหญ่ที่เห็นชัดเจนทั่วกัน
(ถ้าใช้ Big bookสามารถใช้ร่วมกับเด็กกลุ่มใหญ่ได้)ให้เด็กแบ่งกลุ่มเล็กๆผลัดกันอ่านด้วยการออกเสียงดังๆ เช่น คำซ้ำ คำคล้องจอง
-เปิดโอกาสให้เด็กพูดคุย ซักถามจากประสบการณ์เดิมซึ่งครูสามารถประเมินได้
-ให้เด็กเลือกหนังสือที่ชอบและไปนั่งอ่านมุมเงียบๆ(มุมหนังสือนิทาน)
-ให้เด็กได้เขียน ขีดเขี่ย วาดภาพ ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้จากประสบการณ์ ความประทับใจอย่างอิสระ
ความเชื่อมโยงภาษาพูดกับภาษาเขียน
-ภาษาพูดกับภาษาเขียนเชื่อมโยงสัมพันธ์กันมากเกิดขึ้นโดยการเล่าสนทนาโต้ตอบกัน-ทักษะการสนทนาจะพัฒนามากขึ้นด้วยการพูดกับพ่อแม่ เพื่อน ครู ในสถานการณ์หรือเรื่องราวที่มีความสัมพัธ์กับตัวเด็ก ทำให้เด็กได้สื่อสารและแสดงความรู้สึกออกมา เป็นส่วนหนึ่งของการรู้ความหมายในภาษาเขียน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

ครั้งที่ 13


วันที่ 25 มกราคม 2554


วันนี้อาจาร์ยสอนเรื่องการบรูณาการนิทาน เพื่อเชื่อมโยงกับวิชาอื่นๆ
วันนี้อาจารย์ยกตัวอย่างนิทานเรื่อง"ผมแกละ" และนิทานเรื่องนี้สอนเรื่องอะไรให้กับเด็กได้บ้าง
เรื่อง ที่เด็กได้รับ
1.เลียนเสียงของสัตว์
2.คำซ้ำ
3.เด็กๆอย่ากลัวเสียงฟ้าร้อง

ภาษาธรรมชาติ (Whole Language Approach)
การสอนโดยองค์รวมของ
โคมินิอุส
เด็กสามารถค้นพบข้อมูลใหม่ๆได้ด้วยดารนำเสนอ ด้วยสิ่งที่เด็กคุ้นเคย ในชีวิตอยู่แล้วเด็กจะเข้าใจสิ่งของที่เป็นรูปธรรมได้โดยการใช้ภาษาในชีวิตประจำวันของเด็ก
กู๊ดแมน สมิธ เมอร์ริดิธ

ความคิดจะเกิดขึ้นอย่างพรั่งพรูจากกระบวนการเรียนรู้ และมีการพัฒนาภาษาพูด ภาษาเขียน ซึ่งครูจะเห็นได้ชัดเจน ครูใช้ภาษาทุกทักษะ ด้านการฟัง การพูด การอ่านการเขียน แบบองค์รวมทุกกิจกรรมในห้องเรียน เช่น การวิเคราะห์ เรื่องราวต่างๆ การแนะแนวหลักสูตร การทำจดหมายข่าว การเขียนบทความ การเขียนหนังสือ
จูดิท นิวแมน
การสอนภาษาโดยแนวคิดองค์รวมมีลักษณะเป็จนปรัชญา (Philosophical stance) ความคิด ของผู้สอนโดยก่อตัวขึ้นจากหลักการผู้สอนที่ผู้สอนนำมาบูรณาการ
ปรัชญา ( Philosophical stance) คือ ความชเชื่อในความตั้งใจ
จอห์น ดิวอี้
การเรียนรู้ภาษาของเด็กเกิดจากประสบการณ์โดยตรง การลงมือกระทำด้วยตนเอง
เพียเจต์
เด็กจะเรียนรู้ผ่านกิจกรรมด้วยการเคลื่อนไหวและมีปฏิสัมพันะกับสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างองค์ความรู้ขึ้นภายในตนเอง โดยเด็กเป็นผู้กระทำ (Active) ก่อให้เกิดการเรียนรู้ในการคิดด้วยตนเอง จึงกล่าวได้ว่า การเรียนรู้ของเด็ก เกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมผ่านการเล่น ซึ่งช่วยให้เด็กเรียนรู้ภาษาจากกิจกรรมที่ทำร่วมกันและเป็นรายบุคคล
ไวกอตสกี้
การเรียนรู้ภาษาของเด็กเกิดขึ้นได้จากการมี ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลใกล้เคียง พ่อ แม่ เพื่อน ครู บริบทหรือสิ่งต่างๆรอบตัวมีอิทธิพลต่อเด็กในการช่วยเหลือให้ลงมือทำเป็นขั้นตอนผ่านการเล่นและกิจกรรม นำไปสู่การเรียนรู้ ภาษาจะใช้สัญลักษณ์
ฮอลลิเดย์
บริบทที่แวดล้อมในสถานการณ์ที่หลากหลายมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้และการใช้ภาษาของเด็ก
กู๊ดแมน
ภาษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับชีวิตเด็ก เด็กต้องเรียนรู้ภาษาและต้องใช้ภาษาในการเรียนรู้ ดังนั้นครูจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญของภาษา
กระบวนการ
1. บรรยากาศการเรียน => มีลักษณะของความร่วมมือกันระหว่าง ครู และ เด็กตั้งแต่การวางแผน คือคิดด้วยกันว่าจะทำอะไร เมื่อไร ทำอย่างไร จำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อะไรจะหาสิ่งที่ต้องการมาได้อย่างไร และใครจะช่วยทำงานในส่วนนั้น
2. การว่างแผน => -ระยะยาว (Long-range plans)
-ระยะสั้น (Short-range plans)
3.การฟังและการพูดของเด็ก => เด็กได้ยินเสียแม่พูด แม้ว่ายังพูดไม่ได้เด็กเกิดการเรียนรู้จากภาษาพูดเพราะการสอนเด็กให้เด็กพูดนั้น เด็กจำเป็นต้องได้ยิน ได้ฟัง ภาษาพูดก่อนยิ่งได้ฟังมากยิ่งชัดเจนมากขึ้นและได้เรียนรู้คำศัพท์มากขึ้น การเรียนรู้วิธีพูดเป็นประโยคยาวๆทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาได้อย่างรวดเร็ว
4.การอ่านและการเขียน => การอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวัน เป็นสิ่งจำเป็นในการให้โอกาส เด็กเรียนรู้เพื่อพัฒนาภาษาเขียน

วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

ครั้งที่ 12

วันที่ 18 มกราคม 2554


วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอโดยออกมานำเสนอเป็นแถว โดยอาจารย์จะกำหนดหัวข้อไว้ให้คือ
1.คำคล้องจอง
2.รู้สึกอย่างไร
3.ครอบครัวของฉัน
4.ทำและปฏิบัติ
5.ทำตรงกันข้าม
6.พูดกระซิบต่อกัน
7.วาดภาพและเล่านิทานต่อกัน
8.ร้องเพลง
9.วาดภาพเล่าเรื่อง
ข้าพเจ้าอยู่แถว 2 ได้หัวข้อ รู้สึกอย่างไร และให้นักศึกษาเขียนว่า สิ่งที่เพื่อนๆออกมานำเสนอ ว่าแต่ละหัวข้อมีประโยชน์อย่างไรต่อเด็กปฐมวัย
บรรยากาศในห้องสนุกสนาน เสียงดังไปหน่อยค่ะ
อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนออกแบบว่างแผนคำศัพท์ซึ่งจะทำจากปฏิทิน ข้องข้าพเจ้าทำเรื่อง พยัญชนะ "ม"

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11



ครั้งที่ 11
11 มกราคม 2554

วันนี้อาจารย์สอนต่อจากคาบที่แล้วค่ะ มีเนื้อหาดังนี้

มนุษย์ใช้การสื่อสารระหว่างกันด้วยวิธีการหลากหลายรูปแบบ วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ การใช้ภาษาพูดและภาษาเขียน การพัฒนาทักษณะ การใช้ภาษาดังกล่าว จะช่วยให้เด็กเรียนรู้สิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้นตลอดจน การแสดงออกถึงความต้องการที่จะส่งหรือรับสาร การแสดงออกถึงความรู้สึก และการเข้าใจผู้อื่น
เด็กเล็กจะมีความจำกัดของความสามารถของสมอง แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เด็กอายุ 3-4 ปี สามารถเรียน ความซับซ้อนของประโยคในภาษาของตนได้แล้ว ดูเหมือนว่า เด็กจะเรียนรู้กฎของภาษาจากภาษาพูดที่ตนได้ยิน และประโยคที่เด็กสร้างขึ้นมาใหม่ มากกว่าการเรียนแบบ เด็กจะเรียนรู้โดยการฟังคนอื่นพูด และการณ์อยู่ในสถานการณ์นั้นๆเด็กจะพยายามเข้าใจในสิ่งที่เด็กได้ยินและพยายามแสดงออกถึงความตั้งใจ ในสิ่งที่เขาสามารถทำได้
ภาษามีอิทธิพลต่อการรับรู้และการคิดของภาษา

ราต้องการรู้ถึงขอบเขตของ ภาษา ในการกำหนดความคิด และการกระทำของคน ภาษามีบทบาทอันสำคัญในกระบวนการพัฒนาการทางสติปัญญา ภาษา เป็นเครื่องมืออันสำคัญของกระบวนการคิด
- ภาษาจะต้องมีการแสดงออกทางด้านสื่อสาร เช่น การย้ำ การปฏิเสธ ร้องขอ สั่ง ภาษามีจุดประสงค์ซับซ้อน
- ภาษามีความแตกต่างกันหลายๆด้าน

วิเคราะห์กิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษา

- โฆษณา
- ประชาสัมพันธ์
- ประกาศ
- ของรักของหวง
- เล่าเรื่องจากภาพ
- เล่าประสบการณ์

ส่ง มินิบุ๊คค๊ะ














วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

ครั้งที่ 10


4 มกราคม 2554


วันนี้อาจารย์ได้แจกเอกสารการเรียนพยัญชนะ ก-ฮ โดยตัวอีกพยัญชนะจะเป็นส่วนประกอบของตัวการ์ตูนไดโนเสาร์ โดยตัวไดโนเสาร์ยังไม่ได้เรียงพยัญชนะ ดังนั้นเราจึงต้องเรียงพยัญชนะให้คบ 44 ตัว


หลังจากนั้น อาจารย์ได้ยกตัวอย่างการเล่านิทานโดยที่อาจารย์จะพับกระดาษหนังสือพิมพ์เป็นรูปเรือ ระหว่างเล่าอาจารย์ก็จะฉีกส่วนต่างๆของการะดาษที่พับเป็นเรือซึ่งการฉีกสอดคล้องกับเนื้อหาที่เล่า จนในที่สุด อาจารย์เล่าเสร็จจากการพับเรือจึงกลายเป็นเสื้อ 1 ตัว


เนื้อหาที่อาจารย์สอนในสัปดาห์นี้


ภาษาทำให้คนเราได้สื่อสารเพื่อความเข้าใจซึ่งกันและกัน ภาษาต้องเกิดการบูรณาการ เด็กจะเรียนรู้ผ่านการมอง การสังเกต การเห็นคำซ้ำๆ ครูจึงต้องเขียนตัวหนังสือแบบมีหัว ภาษาสามารถเร่ยนรู้ผ่านงานศิลปะ เช่น อะไรเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า,ฉันชอบกิน


การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย



มนุษย์ใช้การสื่อสารระหว่างกันด้วยวิธีการหลายรูปแบบ เด็กจะเรียนรู้จากการฟัง และ การพูด

โดยไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ เมื่อเด็กมีปฏิสัมพันธ์ กับ สิ่งแวดล้อมทางภาษา จะทำให้เด็กเข้าใจและใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาจากแม่ได้ตั้งแต่ อายุ 4-5ปี

สิ่งที่ครูปฐมวัยจะต้องตระหนักและมีความรู้เพื่อนำมาใช้ในการช่วยพัฒนาการทางภาษาของเด็กคือ

"ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาทั้งในด้านภาษาศาสตร์ ด้านการนำไปใช้ตลอดจนแนวปฏิบัติ"



บลูม และ อาเฮย์ => ให้ความหมายของภาษาไว้ 3 ประการคือ

1. ภาษาเป็นสัญลักษณ์หรือรหัส (code) ใช้แทน คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ กิริยาอาการ และเหตุการณ์

2. ภาษาเป็นสัญลักษณ์ของมโนมติเกี่ยวกับโลกหรือประมวลประสบการณ์ เช่น บ้าน ประเทศ ความดีใจ

3. ภาษาเป็นภาษามีระบบ กฎเกณฑ์ข้อบังคับ