วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

ครั้งที่ 10


4 มกราคม 2554


วันนี้อาจารย์ได้แจกเอกสารการเรียนพยัญชนะ ก-ฮ โดยตัวอีกพยัญชนะจะเป็นส่วนประกอบของตัวการ์ตูนไดโนเสาร์ โดยตัวไดโนเสาร์ยังไม่ได้เรียงพยัญชนะ ดังนั้นเราจึงต้องเรียงพยัญชนะให้คบ 44 ตัว


หลังจากนั้น อาจารย์ได้ยกตัวอย่างการเล่านิทานโดยที่อาจารย์จะพับกระดาษหนังสือพิมพ์เป็นรูปเรือ ระหว่างเล่าอาจารย์ก็จะฉีกส่วนต่างๆของการะดาษที่พับเป็นเรือซึ่งการฉีกสอดคล้องกับเนื้อหาที่เล่า จนในที่สุด อาจารย์เล่าเสร็จจากการพับเรือจึงกลายเป็นเสื้อ 1 ตัว


เนื้อหาที่อาจารย์สอนในสัปดาห์นี้


ภาษาทำให้คนเราได้สื่อสารเพื่อความเข้าใจซึ่งกันและกัน ภาษาต้องเกิดการบูรณาการ เด็กจะเรียนรู้ผ่านการมอง การสังเกต การเห็นคำซ้ำๆ ครูจึงต้องเขียนตัวหนังสือแบบมีหัว ภาษาสามารถเร่ยนรู้ผ่านงานศิลปะ เช่น อะไรเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า,ฉันชอบกิน


การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย



มนุษย์ใช้การสื่อสารระหว่างกันด้วยวิธีการหลายรูปแบบ เด็กจะเรียนรู้จากการฟัง และ การพูด

โดยไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ เมื่อเด็กมีปฏิสัมพันธ์ กับ สิ่งแวดล้อมทางภาษา จะทำให้เด็กเข้าใจและใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาจากแม่ได้ตั้งแต่ อายุ 4-5ปี

สิ่งที่ครูปฐมวัยจะต้องตระหนักและมีความรู้เพื่อนำมาใช้ในการช่วยพัฒนาการทางภาษาของเด็กคือ

"ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาทั้งในด้านภาษาศาสตร์ ด้านการนำไปใช้ตลอดจนแนวปฏิบัติ"



บลูม และ อาเฮย์ => ให้ความหมายของภาษาไว้ 3 ประการคือ

1. ภาษาเป็นสัญลักษณ์หรือรหัส (code) ใช้แทน คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ กิริยาอาการ และเหตุการณ์

2. ภาษาเป็นสัญลักษณ์ของมโนมติเกี่ยวกับโลกหรือประมวลประสบการณ์ เช่น บ้าน ประเทศ ความดีใจ

3. ภาษาเป็นภาษามีระบบ กฎเกณฑ์ข้อบังคับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น