วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

ครั้งที่ 14
1 กุมภาพันธ์ 2554

ภาษาที่เกิดขึ้นและใช้ได้ดีต้องมีความหมายซึ่งความรู้ของเด็กจะเพิ่มพูนได้เมื่อเด็กได้ทำกิจกรรมการอ่านร่วมกับผู้ใหญ่ โดยมีสื่อคือ
1. นิทาน
2. หนังสือพิมพ์
3. โฆษณา
4.โปรชัว ใบปลิว
ภาษาที่เกิดขึ้นจากการอ่านของเด็กปฐมวัย
1.การอ่านเงียบๆตามลำพังควรอ่านที่ มุมนิทาน มุมหนังสือ
2.การอ่านเป็นคู่หรือกลุ่มย่อยเพื่ออภิปรายรวมกัน เกิดขึ้นเด็กเล่าให้กันฟังหรือสนทนากัน
3.การอ่านจากสิ่งที่ครู-เด็กเขียนร่วมกันหรือสิ่งที่เด็กเขียนขึ้นเอง นับได้ว่าเป็นการอ่านที่ดีที่สุดของเด็ก
ลักษณะสำคัญของภาษาแบบองค์รวม
การอ่าน-การเขียน
-เน้นความเข้าใจเนื้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือผ่านการฟังนิทาน เรื่องราวสนทนาโต้ตอบคิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่
-การคาดคะเนโดยการเดาในขณะอ่าน เขียนและสะกด เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในการเรียนรู้ภาษาธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถูกต้องทั้งหมด(ยอมรับในสิ่งที่เด็กเขียนออกมา ที่เด็กสื่อความหมายตามภาษาธรรมชาติของเขาและค่อยหาทางแก้ไข)
-มีหนังสือวัสดุสิ่งพิมพ์ต่างๆให้เด็กเป็นผู้เลือก เพื่อได้รับประสบการณ์ทางภาษาอย่างหลากหลาย
-ครูแนะนำและสอนอ่านในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มาโดยใช้หนังสือเล่มใหญ่ที่เห็นชัดเจนทั่วกัน
(ถ้าใช้ Big bookสามารถใช้ร่วมกับเด็กกลุ่มใหญ่ได้)ให้เด็กแบ่งกลุ่มเล็กๆผลัดกันอ่านด้วยการออกเสียงดังๆ เช่น คำซ้ำ คำคล้องจอง
-เปิดโอกาสให้เด็กพูดคุย ซักถามจากประสบการณ์เดิมซึ่งครูสามารถประเมินได้
-ให้เด็กเลือกหนังสือที่ชอบและไปนั่งอ่านมุมเงียบๆ(มุมหนังสือนิทาน)
-ให้เด็กได้เขียน ขีดเขี่ย วาดภาพ ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้จากประสบการณ์ ความประทับใจอย่างอิสระ
ความเชื่อมโยงภาษาพูดกับภาษาเขียน
-ภาษาพูดกับภาษาเขียนเชื่อมโยงสัมพันธ์กันมากเกิดขึ้นโดยการเล่าสนทนาโต้ตอบกัน-ทักษะการสนทนาจะพัฒนามากขึ้นด้วยการพูดกับพ่อแม่ เพื่อน ครู ในสถานการณ์หรือเรื่องราวที่มีความสัมพัธ์กับตัวเด็ก ทำให้เด็กได้สื่อสารและแสดงความรู้สึกออกมา เป็นส่วนหนึ่งของการรู้ความหมายในภาษาเขียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น