วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

ครั้งที่ 15
8 กุมภาพันธ์ 2554

วันนี้เข้ามาในห้องเรียน อาจารย์แจกกระดาษแล้วทำเหมือนการสอบโดยมีหัวจ้อให้เขียนตอบดังนี้
1.มุมที่ดีมีลักษณะอย่างไร
2.มุมหมอ
3.มุมร้านค้า
4.มุมจราจร
แต่อาจารย์ให้เปิดดูได้จากที่เคยจดโน๊ดไว้ แต่ห้ามถามเพื่อน!!!!!!!!

การจัดสภาพแวดล้อมที่ดีควรตอบสนองความต้องการของเด็ก และช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กควรมีลักษณะอย่างไร ?
มุมที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
การจัดมุมประสบการณ์เป็นสถานที่ ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษาตัวหนังสือ สัญลักษณืมีความหมายต่อเรื่องที่เรียนมีมุมที่เด็กสนใจ โดยเด็กสามารถเรียนรู้ ซึมซับอย่างอิมเอิบไปด้วยภาษาตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น
มุมหมอ => มีใบสั่งยา มีใบบันทึกข้อมูลส่วนตัว โดยครูควรเคลือบพลาสติกให้เด็กเขียนแล้วลบได้
มุมร้านค้า => มีเงิน มีการติดป้ายราคาหรือป้ายจัดหมวดหมู่ของสินค้า
มุมจราจร => จะเล่นอยู่ในมุมบล๊อก
ข้อคิดสำหรับการสอนภาษา
1. เริ่มจากตัวเด็กก่อน ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมหรือความสนใจ
2.สอนแบบเป็นธรรมชาติ
3.สอนอย่างมีความหมาย
4.สอนจากสิ่งที่เด็กได้พบเห็น หรือมีประสบการณ์มาก่อน
5.สอนให้เด็กรู้สึกสนุกและอยากเรียน (ไม่ใช่ฝึกแต่ให้ใช้)
6.ให้โอกาสเด็กได้ใช้ภาษา เช่น เด็กอยากพูดก็ควรให้พูด เด็กอยากฟังก็ควรให้ฟัง (ฟังนิทาน ฟังเพลง)
เด็กอยากอ่านก็ให้อ่าน (อ่านข่าว อ่านนิทาน) เด็กอยากเขียนก็ให้เขียน (เวลาเด็กมาโรงเรียนก็ให้เด็ก
เขียนชื่อตัวเอง)
ทำไมเราจึงต้องอ่านหนังสือ?

เพื่อให้เด็กได้คุ้นเคยกับตัวหนังสือเด็กจะเกิดการเรียนรู้
1. ภาษาเขียน อ่านลำดับจากซ้ายไปขวา บนลงล้างศุงไปต่ำ
2. ตัวหนังสือต่างจากภาพ
3.ตัวหนังสือก่อให้เกิดนิทานและเรื่องราวต่างๆ
4.ตัวหนังสือทำให้เกิดเสียง
5.ข้อความในหนังสือเป็นสิ่งถาวร
6.ตัวหนังสือสามารถสื่อความหมายได้
ควรสอนอ่านก่อนขึ้นชั้นประถมศึกษาปีที่1 หรือไม่

ตอบ ควร ถ้าสถานการณ์เป็นไปตามนี้
1.เป็นความปรารถนาจาดตัวเด็ก
2.วิธีการเหมาะสมกับตัวเด็ก
3.เด็กมีความพร้อมที่จะอ่าน
4.เด็กได้ใช้การอ่านเพื่อเสริมประสบการณ์
5.ครูสร้างความสนใจในคำและหนังสือ
6.ครูหวังในเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
7.ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนการอ่าน
8.มีการพูดถามตอบและมีการแก้ปัญหาอยู่เสมอ
9.ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการอ่าน
ตอบ ไม่ควร ถ้าสถานการณ์เป็นไปตามนี้
1.สอนโดยใช้แบบฝึกหัดเป็นประจำ การท่องจำ การระบายสีตามลายเส้น
2.คาดหวังให้เด็กทำตามเหมือนกันทุกคน
3.เน้นความเงียบ
4.จัดกลุ่มและเรียกเด็กตามความสามารถในการอ่าน
5.สอนแยกแต่ละทักษะออกจากกัน
6.สอนโดยถูกบีบบังคับจากผู้ปกครอง
7.เป็นการใช้อำนาจของครู
8.ครูไม่ได้รับการฝึกฝนให้เข้าใจวิธีการสอนที่เหมาะกับเด็กอนุบาล

เทคนิคที่ไม่ควรนำมาใช้สอนภาษา

1.เน้นความจำ
2.เน้นการฝึก
3.ใช้การทดสอบ
4.สอนแต่ละทักษะแยกจากกัน
5.การตีตราเด็ก
6.ใช้แบบฝึกที่เป็นกระดาษและดินสอ เส้นจุดปะ
7.ไม่ยอมรับความผิดพลาด

เทคนิคที่ควรนำมาใช้สอนภาษา
1.สอนในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ
2.สอนสิ่งที่มีความหมายสำหรับเด็ก
3.สอนจากสิ่งที่รู้ไปสู่สิ่งที่ไม่รู้-บูรณาการเข้ากับสาขาวิชาอื่น
4.ให้โอกาสเด็กทุกคนเรียนรู้ภาษา
5.ใช้ความคิดและถ้อยคำของเด็ก
6.ยอมรับการคาดเดาของเด็ก
7.ให้โอกาสเด็กอย่างมากมายในการใช้ทักษะต่างๆ
8.จัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
9.ทำให้การเรียนรู้น่าสนใจและสนุกสนาน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น